ผู้เขียน หัวข้อ: ทำความรู้จักโรคหัวใจ อาการแบบไหน เกิดจากสาเหตุอะไร พร้อมวิธีรักษา  (อ่าน 18 ครั้ง)

siritidaphon

  • Sr. Member
  • ****
  • กระทู้: 278
  • รับจ้างโพส ,รับโพสเว็บ, โปรโมทเว็บ ราคาประหยัด
    • ดูรายละเอียด
ทำความรู้จักโรคหัวใจ อาการแบบไหน เกิดจากสาเหตุอะไร พร้อมวิธีรักษา

จะรู้ได้อย่างไรว่าอวัยวะในร่างกายยังทำงานได้ดีเป็นปกติ? โดยเฉพาะหัวใจ ซึ่งเป็นอวัยวะสำคัญในร่างกายที่ทำงานหนักตลอด 24 ชั่วโมง ไม่เคยหยุดพัก แม้ในขณะที่เรานอนหลับ เพราะหัวใจมีหน้าที่หลักคือ สูบฉีดเลือดให้ไปเลี้ยงทุกส่วนของร่างกาย แน่นอนว่าถ้าหัวใจแข็งแรง สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ก็จะเป็นจุดเริ่มต้นของการมีสุขภาพดี ทำให้การตรวจสุขภาพหัวใจประจำปีอย่างน้อยปีละครั้ง จะช่วยค้นหาสิ่งผิดปกติและความเสี่ยงต่อการเกิดโรคต่าง ๆ ได้อย่างทันท่วงที

ดังนั้นแม้ว่าคุณจะยังไม่มีอาการใดที่บ่งบอกถึงการเป็นโรคหัวใจ แต่เพื่อเป็นการป้องกันและให้คุณรู้ทันความเสี่ยงของโรคนี้ จะพามาทำความรู้จักโรคหัวใจให้มากขึ้น ทั้งโรคหัวใจอาการเริ่มต้นเป็นยังไง? มีกี่ชนิด? วิธีป้องกันโรคหัวใจและวิธีรักษายังไงบ้าง? เพื่อการมีหัวใจที่แข็งแรงและชีวิตที่ยืนยาว


ทำความรู้จักโรคหัวใจ

โรคหัวใจ (Heart Disease) หมายถึง โรคที่ส่งผลกระทบต่อการทำงานของหัวใจ สามารถแบ่งย่อยได้เป็นหลายกลุ่มโรค เช่น โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคกล้ามเนื้อหัวใจ โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ โรคลิ้นหัวใจ โรคหัวใจพิการแต่กำเนิด และโรคติดเชื้อบริเวณหัวใจ ซึ่งเป็นความผิดปกติที่เกิดขึ้นในบริเวณที่แตกต่างกัน ทำให้โรคหัวใจมีอาการที่แตกต่างกันไปในแต่ละชนิด

จากการรายงานสถิติขององค์การอนามัยโลก (WHO) ในปี 2563 พบว่า กลุ่มโรคหัวใจและหลอดเลือดเป็นสาเหตุการตายครองแชมป์อันดับ 1 ของคนทั่วโลก มีผู้เสียชีวิตจากกลุ่มโรคนี้ประมาณ 17.9 ล้านคน

สำหรับประเทศไทย หนึ่งในโรคหัวใจที่พบได้มากที่สุด คือ โรคหลอดเลือดหัวใจ (coronary artery disease) มีอัตราการเสียชีวิตอยู่ที่ 150-300 ต่อแสนประชากร นอกจากนี้ ยังพบด้วยว่าคนไทยมีอัตราการเสียชีวิตจากโรคหลอดเลือดหัวใจตีบอยู่ที่ปีละประมาณ 300,000-350,000 แสนรายต่อปี หรือเฉลี่ยนาทีละ 2 คน นับเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับ 1 ของประเทศไทยในปัจจุบัน


โรคหัวใจมีกี่ชนิด?

โรคหัวใจสามารถแบ่งเป็นชนิดใหญ่ ๆ ได้ทั้งหมด 6 ชนิด ดังนี้

โรคหลอดเลือดหัวใจ

โรคหลอดเลือดหัวใจ (Coronary Artery Disease: CAD/Coronary Heart Disease: CHD) เกิดจากการเกาะของคราบไขมัน (Plaque) ภายในผนังหลอดเลือดหัวใจ ซึ่งเป็นการสะสมของคอเลสเตอรอลและสารต่าง ๆ ภายในหลอดเลือด ส่งผลให้หลอดเลือดตีบและอุดตันจนปิดกั้นการไหลเวียนของกระแสเลือด


โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ

โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ (Cardiac arrhythmia) เกิดจากความผิดปกติของการกำเนิดกระแสไฟฟ้าหัวใจหรือการนำไฟฟ้าหัวใจ หรือทั้ง 2 อย่างรวมกัน ส่งผลให้ผู้ที่ป่วยด้วยโรคนี้มีอาการหัวใจเต้นช้าผิดปกติ น้อยกว่า 60 ครั้ง/นาที หรือหัวใจเต้นเร็วผิดปกติ คือเร็วกว่า 100 ครั้ง/นาที หรือหัวใจเต้นไม่เป็นจังหวะสม่ำเสมอ เช่น เต้น ๆ หยุด ๆ หรือเต้นเร็วสลับเต้นช้า


โรคกล้ามเนื้อหัวใจ

โรคกล้ามเนื้อหัวใจ เช่น โรคกล้ามเนื้อหัวใจเสื่อม (Dilated Cardiomyopathy) โรคกล้ามเนื้อหัวใจหนา (Hypertrophic cardiomyopathy) โรคกล้ามเนื้อหัวใจถูกบีบรัด มีภาวะบีบรัดหัวใจ (Cardiac Tamponade) ผู้ป่วยที่มาพบแพทย์มักมีอาการเหนื่อยง่าย หายใจไม่อิ่ม และมีอาการมากขึ้นเมื่อต้องออกแรงหนัก ๆ หากกล้ามเนื้อหัวใจมีอาการรุนแรงมากขึ้น จะทำให้มีอาการเหนื่อย แม้ขณะนั่งอยู่เฉย ๆ มีอาการบวมตามแขน ขา หนังตา ร่วมกับอาการอ่อนเพลีย นอนราบไม่ได้ และตื่นขึ้นมาไอในเวลากลางคืน

โรคหัวใจพิการแต่กำเนิด

โรคหัวใจพิการแต่กำเนิด (Congenital Heart Disease) คือ ความผิดปกติของการพัฒนาการสร้างหัวใจที่เกิดขึ้นตั้งแต่เมื่อทารกอยู่ในครรภ์ จากการสร้างอวัยวะที่ไม่สมบูรณ์ในตัวอ่อน ความผิดปกติที่เกิดขึ้นสามารถพบได้ในทุก ๆ ส่วนของหัวใจ เช่น จำนวนห้องของหัวใจอาจไม่ครบ 4 ห้อง ผนังกั้นห้องหัวใจมีรูรั่ว ลิ้นหัวใจตีบตันหรือรั่ว หลอดเลือดใหญ่มีขนาดผิดปกติ หลอดเลือดหัวใจออกผิดที่ หลอดเลือดเกิน เป็นต้น สามารถวิเคราะห์ความผิดปกติได้ตั้งแต่ขณะอยู่ในครรภ์มารดา โดยการตรวจด้วยคลื่นเสียงสะท้อนหัวใจ (Echocardiogram)

   
โรคลิ้นหัวใจ

โรคลิ้นหัวใจ (Valve Heart Disease) เกิดจากลิ้นหัวใจ ทำหน้าที่เป็นประตูกั้นระหว่างห้องหัวใจทำหน้าที่ควบคุมการไหลเวียนเลือดให้ไปในทิศทางที่ถูกต้อง ป้องกันเลือดไหลย้อนกลับทำงานผิดปกติ แบ่งออกได้เป็นลิ้นหัวใจตีบ (Stenosis) และลิ้นหัวใจรั่ว (Regurgitation) หากปล่อยทิ้งไว้จะทำให้การไหลเวียนของเลือดมีปัญหาในระดับรุนแรง และเสียชีวิตจากภาวะหัวใจล้มเหลวได้

โรคติดเชื้อบริเวณหัวใจ

โรคติดเชื้อบริเวณหัวใจ เช่น ลิ้นหัวใจ หรือโรคลิ้นหัวใจอักเสบจากการติดเชื้อ (Infective Endocarditis) เกิดจากการติดเชื้อไวรัส แบคทีเรีย หรือปรสิต รวมทั้งการทำหัตถการทางการแพทย์ การใช้สารเสพติด และมีการเหนี่ยวนำให้เกิดการติดเชื้อที่บริเวณหัวใจตามมา โดยผู้ป่วยโรคนี้จะมีความผิดปกติของลิ้นหัวใจอยู่ก่อนแล้ว ทำให้เชื้อแบคทีเรียสามารถเกาะติดกับลิ้นหัวใจที่ผิดปกติได้ง่าย และลุกลามทำลายลิ้นหัวใจ ทำให้เกิดลิ้นหัวใจอักเสบได้


โรคหัวใจอาการเริ่มต้นมีอะไรบ้าง?

โรคหัวใจ อาการเริ่มต้นมักจะไม่แสดงออกมาอย่างชัดเจน ทำให้หลายคนไม่ทันสังเกตและมองข้ามการตรวจสุขภาพหัวใจไปได้ ซึ่งอาการเริ่มต้นเหล่านี้สามารถเกิดขึ้นได้จากหลากหลายปัจจัยและมักจะส่งผลต่อการทำงานของหัวใจและระบบหลอดเลือดในร่างกาย โดยอาการเริ่มต้นที่เกี่ยวข้องกับโรคหัวใจมีอาการดังนี้


1. เจ็บแน่นหน้าอก

มีอาการเจ็บแน่นบริเวณหน้าอกข้างซ้าย หรือทั้ง 2 ด้าน บางรายอาจมีอาการเจ็บร้าวไปถึงแขนซ้าย หรือแขนทั้ง 2 ข้าง หรือเจ็บแน่นหน้าอกเวลาเคลื่อนไหวร่างกายที่ต้องใช้กำลังมาก หรือขณะออกกำลังกาย เช่น การเดินขึ้นบันได โดยอาการดังกล่าวจะดีขึ้นหลังหยุดออกกำลัง


2. เหนื่อยหอบ

รู้สึกหอบ หรือเหนื่อยง่ายมากกว่าปกติ รู้สึกบ้านหมุน หน้ามืดคล้ายจะเป็นลม สายตาพร่าเบลอ โดยอาการจะเกิดขึ้นเพียงชั่วขณะหนึ่งแล้วจะหายไปเอง
ใจสั่น หัวใจเต้นเร็วผิดปกติ   


3. ใจสั่น หัวใจเต้นเร็วผิดปกติ

โดยปกติแล้วอัตราการเต้นของหัวใจคนเราจะมีความสม่ำเสมอ อยู่ที่ประมาณ 60-100 ครั้ง/นาที แต่ในผู้ที่มีอาการหัวใจเต้นผิดจังหวะ อัตราการเต้นของหัวใจก็พุ่งไปถึง 150-250 ครั้ง/นาที


4. เป็นลมหมดสติบ่อยครั้ง

จังหวะการเต้นของหัวใจไม่ได้อยู่ในระดับที่สม่ำเสมอ เนื่องจากเซลล์ที่ให้จังหวะไฟฟ้าภายในหัวใจเสื่อมสภาพ ทำให้การเต้นของหัวใจช้าลงและส่งเลือดไปเลี้ยงที่สมองได้ไม่เพียงพอ เป็นเหตุให้เป็นลมหมดสติไปชั่วคราวได้
ขาบวม   


5. ขาบวม

เนื่องจากหัวใจด้านขวาทำงานลดลง เลือดจึงไหลจากขาไปที่หัวใจได้ไม่สะดวกจนทำให้เกิดเลือดค้างอยู่บริเวณขา ทำให้ขา หรือเท้าบวม โดยเนื้อจะมีลักษณะบุ๋มตามนิ้วที่กดลงไป


6. ปลายนิ้วมือ นิ้วเท้า และริมฝีปากมีสีเขียวคล้ำ

เป็นลักษณะอาการที่บ่งชี้ว่าทางเดินของเลือดภายในหัวใจที่ห้องขวาและห้องซ้ายมีการเชื่อมต่อกันอย่างผิดปกติ ทำให้เกิดการผสมกันของเลือดแดงและเลือดดำ


ใครบ้างที่เสี่ยงโรคหัวใจ

โรคหัวใจเป็นอาการที่ส่งผลต่อหัวใจและระบบหลอดเลือด ซึ่งผู้ที่มีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจ มีดังนี้


1. ผู้ที่มีอายุมากขึ้น

อายุมากขึ้น อวัยวะภายในร่างกายต่าง ๆ จะมีประสิทธิภาพในการทำงานลดลง จึงมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดแดงหัวใจตีบ และโรคหัวใจชนิดอื่น ๆ มากขึ้น


2. ผู้ที่มีคนในครอบครัวเป็นโรคหัวใจ

โรคหัวใจบางชนิดสามารถถ่ายทอดผ่านทางพันธุกรรมได้ ดังนั้นหากมีสมาชิกในครอบครัวเป็นโรคหัวใจอาจจะเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจได้


3. ผู้ที่มีพฤติกรรมเสี่ยง

ผู้ที่มีพฤติกรรมเหล่านี้ เช่น สูบบุหรี่ สารพิษในบุหรี่จะมีผลทำให้หลอดเลือดหัวใจเกิดความผิดปกติ การรับประทานอาหารที่ประกอบไปด้วยไขมัน เกลือ น้ำตาล หรืออาหารที่มีคอเลสเตอรอลสูง และไม่ชอบออกกำลังกาย นับว่าเป็นปัจจัยเสี่ยงอีกประการหนึ่งที่สามารถนำไปสู่การเกิดโรคหัวใจ


4. ผู้ที่มีความเครียด ความเครียด

ความเครียดมีผลต่อหัวใจและหลอดเลือดหัวใจ คือ ทำให้เกิดความผิดปกติของระบบประสาทซิมพาเทติก (Sympathetic Nervous System) โดยจะเร่งให้เกิดการทำลายชั้นเซลล์ของผนังหลอดเลือดแดง นอกจากนี้ความเครียดฉับพลันยังมีผลอย่างมากต่อเลือดที่ไปเลี้ยงหัวใจซึ่งจะทำให้เกิดภาวะหัวใจเต้นไม่เป็นจังหวะอีกด้วย


5. ผู้ที่เป็นโรคเบาหวาน โรคอ้วน

ผู้ที่เป็นโรคเบาหวาน โรคอ้วน จะมีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจเพิ่มมากขึ้น เพราะมีโอกาสสูงที่จะมีไขมันในเลือดสูง ทำให้เลือดข้น อุดตันเส้นเลือดที่จะส่งเลือดไปหล่อเลี้ยงหัวใจ ทำให้หัวใจทำงานหนักเพิ่มขึ้น จนหัวใจทำงานไม่ไหว และล้มเหลวในที่สุด


จะรู้ได้อย่างไรว่าเป็นโรคหัวใจ

แม้ว่าโรคหัวใจ อาการเริ่มต้นอาจจะแสดงออกมาไม่ชัดเจน แต่หากพบว่ามีอาการผิดปกติที่เกี่ยวข้องกับโรคหัวใจ เช่น เจ็บหน้าอก หายใจถี่ เหนื่อง่าย เป็นลมบ่อย ๆ เป็นต้น ควรปรึกษาแพทย์เฉพาะทางเพื่อประเมินและตรวจอาการเหล่านี้ในทันที โดยแพทย์จะทำการสอบถามประวัติโดยละเอียด ตรวจร่างกายด้วยการตรวจเลือด และเอกซเรย์ทรวงอก นอกจากนี้แพทย์จะทำการทดสอบพิเศษทางหัวใจต่าง ๆ เพื่อการวินิจฉัยโรคที่ชัดเจนมากยิ่งขึ้น ซึ่งจะขึ้นอยู่กับดุลพินิจของแพทย์ โดยการทดสอบต่าง ๆ มีวิธีดังนี้

1. ตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (ECG หรือ EKG)

ใช้สื่อนำคลื่นไฟฟ้าขนาดเล็กไปวางตามจุดต่าง ๆ ของร่างกาย ได้แก่ หน้าอก แขน และขา จากนั้นกราฟจะแสดงคลื่นไฟฟ้า เพื่อตรวจความสมบูรณ์ของการทำงานไฟฟ้าหัวใจ และตรวจหากความผิดปกติที่อาจเกิดขึ้นหรือเกิดขึ้นแล้วให้แพทย์อ่านผลและวินิจฉัยระดับความรุนแรงของโรคต่อไป


2. บันทึกคลื่นไฟฟ้าหัวใจ 24 ชั่วโมง (Ambulatory ECG Monitoring หรือ Holter ECG)

เป็นการติดเครื่องบันทึกคลื่นไฟฟ้าหัวใจ หรืออุปกรณ์ ECG แบบพกพา ซึ่งเป็นเครื่องที่เชื่อมกับสายที่ยึดติดกับแผ่น Electrode ที่ติดไว้บริเวณหน้าอกของผู้ป่วย เพื่อบันทึกจังหวะการเต้นของหัวใจอย่างต่อเนื่อง โดยปกติจะใช้เวลา 24-72 ชั่วโมง เพื่อตรวจจับปัญหาจังหวะการเต้นของหัวใจที่ไม่พบในระหว่างการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจปกติ เป็นวิธีตรวจที่เหมาะกับผู้ป่วยที่มีปัญหาใจสั่นผิดปกติเป็นประจำ หน้ามืด วูบ เป็นลมหมดสติโดยไม่ทราบสาเหตุ


3. ตรวจหัวใจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง (Echocardiogram)

การตรวจหัวใจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูงเป็นการทดสอบแบบใช้คลื่นเสียงสะท้อนหัวใจ เพื่อสร้างภาพและตรวจวัดโครงสร้างหัวใจโดยละเอียด เช่น ขนาดของหัวใจ การทำงานของกล้ามเนื้อหัวใจ ลิ้นหัวใจ ผนังกั้น และผนังหุ้มหัวใจ การไหลเวียนเลือดในหัวใจ ตำแหน่งของหลอดเลือดต่าง ๆ ที่เข้า-ออกจากหัวใจ เป็นต้น


4. ตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจขณะออกกำลังกาย (Exercise Stress Test: EST)

เป็นการทดสอบการเพิ่มอัตราการเต้นและบีบตัวของหัวใจด้วยการออกกำลังกาย หรือยา และวัดการตอบสนองทั้งชีพจรความดันโลหิตความผิดปกติของคลื่นไฟฟ้าหัวใจ และบางรายวัดความผิดปกติของกล้ามเนื้อหัวใจโดยการตรวจ Echocardiogram (Stress Echocardiogram) ช่วยในการวินิจฉัยโรคหลอดเลือดหัวใจภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะบางครั้ง ประเมินสมรรถภาพภาวะผนังหัวใจและหลอดเลือด


5. สแกนเอกซเรย์คอมพิวเตอร์หัวใจ (CT SCAN)

การทำ CT Scan เป็นการทดสอบแบบใช้การเอกซเรย์เพื่อสร้างภาพโครงสร้างโดยละเอียด เพื่อวัดคะแนนหินปูนของหลอดเลือดหัวใจ (Coronary Calcium Score) และหากฉีดสารทึบรังสีด้วย จะได้ภาพของหลอดเลือดหัวใจหรือหลอดเลือดแดงใหญ่ หลอดเลือดปอด เพื่อวินิจฉัยโรคหลอดเลือดต่าง ๆ ความผิดปกติของกล้ามเนื้อหัวใจ ผนังหัวใจ


6. สวนหัวใจ

การสวนหัวใจเป็นการใส่ท่อสั้น ๆ เข้าไปในหลอดเลือดดำหรือหลอดเลือดแดงบริเวณขาหรือแขน เพื่อตรวจวัดภายในหัวใจโดยตรงหรือการวินิจฉัยโรคหลอดเลือดหัวใจโรคลิ้นหัวใจหรือผนังกั้นหัวใจผิดปกติโรคหัวใจพิการแต่กำเนิด

วิธีป้องกันโรคหัวใจ

        ลดการบริโภคอาหารที่มีโซเดียมสูง ซึ่งเป็นปัจจัยที่ทำให้ความดันโลหิตสูง และเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจ

        เสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจชนิดต่าง ๆ ได้อีกด้วย โดยวิธีป้องกันโรคหัวใจมีดังนี้
            ออกกำลังกายเป็นประจำ เพื่อเสริมสร้างระบบหัวใจและหลอดเลือดให้แข็งแรง โดยควรจะออกกำลังกายอย่างน้อย 30 นาทีต่อวัน หรือ 150 นาทีต่อสัปดาห์
            รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อหัวใจ เช่น ผัก ผลไม้ อาหารที่มีไขมันไม่อิ่มตัวอย่างไข่ไก่ ปลา ถั่ว ธัญพืช เป็นต้น
            งดการดื่มเครื่องดื่มแอลกฮอล์และงดการสูบบุหรี่ ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่เพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจ
            จัดการกับความเครียด เพราะความเครียดสามารถส่งผลกระทบต่อหัวใจและหลอดเลือดหัวใจ อาจทำให้เกิดภาวะหัวใจเต้นไม่เป็นจังหวะได้
            รักษาน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม เพื่อลดความดันเลือดและระดับไขมันเลือด ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดโรคหัวใจ
            พักผ่อนให้เพียงพอ เพื่อให้ร่างกายสามารถปรับสมดุลของฮอร์โมน ลดความเครียด รวมถึงรักษาระบบหัวใจและหลอดเลือดให้อยู่ในสภาพที่ดี
            ตรวจสุขภาพประจำปี เพื่อตรวจเช็กความผิดปกติทางสุขภาพและหัวใจ รวมถึงเพื่อหาทางรับมือและรับการรักษาได้อย่างทันท่วงที

วิธีรักษาโรคหัวใจ

วิธีรักษาโรคหัวใจ จะขึ้นอยู่กับอาการ และประเภทของโรคหัวใจ ซึ่งโดยทั่วไปแล้วมักจะรักษาด้วยวิธีดังนี้

    ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิต พยายามหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงที่จะทำให้เป็นโรคหัวใจ เช่น อาหารที่มีไขมันสูง เลิกสูบบุหรี่ หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ออกกำลังกายเพื่อสุขภาพที่ดี และรับประทานอาหารที่มีประโยชน์
    รักษาด้วยการใช้ยา บางรายที่อาการไม่ดีขึ้น แพทย์จะจ่ายยาเพื่อควบคุม และบรรเทาอาการของโรค โดยยาที่ให้นั้นจะแตกต่างไปตามประเภท และอาการของผู้ป่วย
    ผ่าตัด วิธีรักษาด้วยการผ่าตัดจะขึ้นอยู่กับชนิดโรคที่ผู้ป่วยเป็น เช่น การผ่าตัดหลอดเลือดแดงใหญ่ตีบในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจ การผ่าตัดเปลี่ยนลิ้นหัวใจของผู้ป่วยที่มีปัญหาด้านลิ้นหัวใจทำงานผิดปกติ เป็นต้น

สรุป

โรคหัวใจเป็นอาการที่ส่งผลต่อหัวใจและระบบหลอดเลือด อีกทั้งยังเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับต้น ๆ ของคนไทย และมีหลากหลายชนิด ไม่ว่าจะเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจ โรคกล้ามเนื้อหัวใจ โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ โรคลิ้นหัวใจ โรคหัวใจพิการแต่กำเนิด และโรคติดเชื้อบริเวณหัวใจ ทำให้การเช็กสัญญาณ หรืออาการต้องสงสัยโรคหัวใจ โดยเฉพาะในผู้ที่มีความเสี่ยง จะช่วยป้องกันหรือค้นพบความผิดปกติตั้งแต่เนิ่น ๆ เพื่อหาแนวทางการรักษาที่ตอบโจทย์กับระยะความรุนแรงได้อย่างเหมาะสม