ผู้เขียน หัวข้อ: โรคความดันโลหิตสูง…ภัยเงียบที่ไม่ควรมองข้าม  (อ่าน 105 ครั้ง)

siritidaphon

  • Jr. Member
  • **
  • กระทู้: 81
  • รับจ้างโพส ,รับโพสเว็บ, โปรโมทเว็บ ราคาประหยัด
    • ดูรายละเอียด
โรคความดันโลหิตสูง…ภัยเงียบที่ไม่ควรมองข้าม
« เมื่อ: วันที่ 29 สิงหาคม 2024, 22:32:08 น. »
โรคความดันโลหิตสูง…ภัยเงียบที่ไม่ควรมองข้าม

โรคความดันโลหิตสูง (Hypertension) คือภาวะที่ตรวจพบว่ามีความดันโลหิตอยู่ในระดับสูงผิดปกติ มากกว่าหรือเท่ากับ 140/90 มิลลิเมตรปรอท ส่วนมากมักไม่แสดงอาการ แต่ในบางรายอาจมีอาการเตือน เช่น ปวดมึนท้ายทอย วิงเวียน ปวดศีรษะตุบๆ หากเป็นมานาน หรือความดันโลหิตสูงมากๆ อาจมีอาการเลือดกำเดาไหล ตามัว ใจสั่น มือเท้าชา ฯลฯ ซึ่งผู้ป่วยต้องรีบพบแพทย์ เพื่อรับการรักษาอย่างเหมาะสมและทันท่วงที

 
ค่าความดันโลหิตแบบไหน? ที่เรียกว่า ‘สูง’

การจำแนกความรุนแรงของโรคความดันโลหิตสูงในผู้ใหญ่ อายุ 18 ปีขึ้นไป
Category                     SBP (มม.ปรอท)         DBP (มม.ปรอท)
Optimal                     < 120       และ    < 80
Normal                     120 – 129    และ/หรือ    80 – 84
High Normal             130 – 139    และ/หรือ    85 – 89
Hypertension ระดับ 1    140 – 159    และ/หรือ    90 – 99
Hypertension ระดับ 2    160 – 179    และ/หรือ    100 – 109
Hypertension ระดับ 3    ≥ 180    และ/หรือ    ≥ 110
Isolated Systolic Hypertension (ISH)    ≥ 140    และ    < 90

 
วิธีการวัดความดันโลหิตที่ถูกต้อง

    ไม่ดื่มชาหรือกาแฟ และไม่สูบบุหรี่ ก่อนทำการวัดความดันโลหิตอย่างน้อย 30 นาที
    หากมีอาการปวดปัสสาวะควรแนะนำให้ไปปัสสาวะก่อน
    ให้นั่งพักบนเก้าอี้ในห้อง ที่เงียบสงบเป็นเวลา 5 นาที
    หลังพิงพนักเพื่อไม่ต้องเกร็งหลัง เท้า 2 ข้างวางราบกับพื้น ห้ามนั่งไขว่ ห้าง ไม่พูดคุยทั้งก่อนหน้าและขณะวัดความดันโลหิต
    วางแขนซ้ายหรือขวาที่จะทำการวัดอยู่บนโต๊ะ โดยให้บริเวณที่จะพัน Arm Cuff อยู่ระดับเดียวกับระดับหัวใจ และไม่เกร็งแขนหรือกำมือในขณะ ทำการวัดความดันโลหิต

วิธีวัดความดันโลหิตให้ถูกต้อง
การรักษาความดันโลหิตสูง

    ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม
    ให้ยาลดความดันโลหิต

ปรับพฤติกรรมลดเสี่ยงความดัน
การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมลดความดันโลหิตสูง

    ลดน้ำหนักในผู้ที่มีน้ำหนักเกินหรืออ้วน
    ปรับรูปแบบของการบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพ
    จำกัดปริมาณเกลือและโซเดียมในอาหาร
    เพิ่มกิจกรรมทางกายหรือการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
    จำกัดหรืองดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
    เลิกบุหรี่

ลดความเสี่ยง NCDs ปรับพฤติกรรม
ลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ใช้หลัก ‘3อ 2ส 1ฟ’

    3อ คือ อาหาร ออกกำลังกาย และอารมณ์
    2ส คือ ไม่สูบบุหรี่และลดการดื่มสุรา
    1ฟ คือ สุขภาพช่องปากและฟัน